ค้นหาบล็อกนี้
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
LOVER UKULELE
Ukulele อยู่ คู่โลกแห่งดนตรีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว โดยมีต้นกำเนิดจากการที่ชาวพื้นเมือง ในฮาวาย ใช้วิชาครูพักลักจำ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเลียนแบบเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ นามว่า Cavaquinho ที่ชาวโปรตุเกสขนมาเล่นให้ชาวฮาวายได้สดับกัน ต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส ที่อุตส่าห์หอบเอาเจ้าเครื่องดนตรีนี้ ขึ้นเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งไกล เพราะหากชาวฮาวายเอี้ยนไม่นำมาประยุกต์ใช้เป็นการใหญ่ มันก็คงไม่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกดังทุกวันนี้หรอกค่ะ
ช่วงแรก Ukulele
ช่วงแรก Ukulele ใช้สำหรับบรรเลงเพลงฮาวายเอี้ยนขับกล่อมชาวเกาะให้ครื้นเครง โดยมีพระราชาชาวเกาะ King David Kalakaua เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ จนใครๆ ในเกาะก็พากันเล่นเจ้าตัวจิ๋วนี้ จากนั้นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่สอง Ukulele ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเนื่องจากขนาดอันกะทัดรัดและราคาที่ไม่แพง มันเปลี่ยนสถานะจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องดนตรีสากล มีนักดนตรีจาก แผ่นดินใหญ่อเมริกานำมาเล่นกันหลากหลายแนว ไม่เว้นแม้แต่ศิลปินแจ๊ซ ความโดดเด่นในวงการเพลงของมันมาถึงจุดสุดยอดในช่วงยุค 60"s ก่อนที่ความนิยมจะเริ่มซาหายไปตามกาลเวลา จนเมื่อช่วงปลายยุค 90"s นี้เอง ที่ Ukulele กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เมื่อ Jake Shimabukuro มือ Ukulele หนุ่มน้อยเชื้อสายญี่ปุ่น-ฮาวาย นำมันมาบรรเลงเพลงร่วมสมัยด้วย ลีลามากลวดลายน่าทึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น อัจฉริยะ Ukulele
ปัจจุบัน นักฟังเพลงหลายท่านน่าจะเคยเห็น เคยได้ยินเสียงของมันมาแล้ว เพราะปัจจุบันมีศิลปินพ็อปชั้นนำเอามาขึ้นเวทีกันบ่อยๆ ที่เห็นชัดๆ ก็เห็นจะเป็น Jack Johnson และ Jason Mraz คนส่วนใหญ่เห็น แต่คนส่วนมากมักไม่ทราบว่ามันคืออะไร ทุกครั้งที่ผมหยิบเจ้า Ukulele ขึ้นมาเล่น มักจะมีคนหัวเราะแล้วถามว่า กีตาร์จิ๋วนี่มันเล่นได้จริงๆ หรือ ? คำตอบของผมคือ 1.มันไม่ใช่กีตาร์ วิธีจับคอร์ด และการตั้งสายต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย แต่หากเล่นกีตาร์มาก่อน ก็ปรับตัวทำความเข้าใจได้ไม่ยาก 2.ถึงไม่ใช่กีตาร์ แต่มันก็เล่นได้ไพเราะเพราะพริ้งไม่แพ้กีตาร์เลยครับ แถมสายไนลอนจับสบายมือ เล่นง่าย และให้เสียงใสๆ ฟังแล้วคิดถึงกลิ่นอายทะเล
ปัจจุบัน นักฟังเพลงหลายท่านน่าจะเคยเห็น เคยได้ยินเสียงของมันมาแล้ว เพราะปัจจุบันมีศิลปินพ็อปชั้นนำเอามาขึ้นเวทีกันบ่อยๆ ที่เห็นชัดๆ ก็เห็นจะเป็น Jack Johnson และ Jason Mraz คนส่วนใหญ่เห็น แต่คนส่วนมากมักไม่ทราบว่ามันคืออะไร ทุกครั้งที่ผมหยิบเจ้า Ukulele ขึ้นมาเล่น มักจะมีคนหัวเราะแล้วถามว่า กีตาร์จิ๋วนี่มันเล่นได้จริงๆ หรือ ? คำตอบของผมคือ 1.มันไม่ใช่กีตาร์ วิธีจับคอร์ด และการตั้งสายต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย แต่หากเล่นกีตาร์มาก่อน ก็ปรับตัวทำความเข้าใจได้ไม่ยาก 2.ถึงไม่ใช่กีตาร์ แต่มันก็เล่นได้ไพเราะเพราะพริ้งไม่แพ้กีตาร์เลยครับ แถมสายไนลอนจับสบายมือ เล่นง่าย และให้เสียงใสๆ ฟังแล้วคิดถึงกลิ่นอายทะเล
ความหมายของ Ukulele
อันชื่อ Ukulele นั้น แปลห้วนๆ แบบชาวเกาะชิวๆ ได้ว่า "หมัดกระโดด" ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะของนิ้วผู้เล่น ที่ต้องสลับที่กดเด้งไปมาบนคอ Ukulele ที่ดูแบบมีศิลปะแล้ว คล้ายกับตัวหมัดกำลังกระโดดไปมาบนทุ่งหญ้า ส่วนอีกศาสตร์กล่าวว่า ตามหลักภาษาฮาวายเอี้ยน Uku แปลว่า "ของขวัญ" ส่วน Lele แปลว่า "การมา" ซึ่งน่าจะพอกล้อมแกล้มแบบมีเหตุผลไปได้ว่า ความหมายของมันคือ "ของขวัญที่ได้มา (จากชาวโปรตุเกส)" ส่วนการออกเสียงนั้น หากออกเสียงเรียกแบบคนอเมริกัน เขาเรียกว่า "ยู คะ เล ลี่" ชาวฮาวายเอี้ยนเรียกมันว่า "อู คู เล่ เล่" ส่วนนักดนตรีสมัยใหม่ขี้เกียจพูดยาว ตั้งชื่อเล่นให้มันสั้นๆ ว่า "ยู้ค" จะเรียกอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียว กันหมด
ขนาดของ Ukulele
Ukulele ยังไม่ได้มีแค่ขนาดเดียว ขนาดของมันเริ่มตั้งแต่ soprano ซึ่งเป็นขนาดดั้งเดิม ที่เหมาะสำหรับใช้เล่นตีคอร์ดสนุกสนาน ตามด้วย concert ที่คอยาวขึ้นเพื่อใช้เล่นแบบ fingerstyle ต่อด้วย tenor ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกขั้น พร้อมเฟร็ตที่มากขึ้น และเสียงที่ทุ้มกังวาลกว่า ปิดท้ายด้วย baritone ที่ใหญ่ที่สุด และตั้งเสียงไม่เหมือนขนาดอื่น (ตั้งเสียงแบบสี่สายล่างของกีตาร์ปกติ) เสน่ห์อีกอย่างของ Ukulele คือไม้ที่นำมาทำ หากจะให้ถูกตามต้นตำรับแล้ว เขาต้องใช้ไม้ Koa ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงและเริ่มหายาก ไม้ชนิดนี้ให้สุ้มเสียงสดใส แหลมพุ่ง ถูกใจเซียน Ukulele มากที่สุด ปัจจุบันนอกจากจะใช้ไม้แบบต้นตำรับแล้ว ยังมีการนำไม้ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำกีตาร์ เช่น Spruce Mahogany Maple มาประกอบเป็นเจ้าตัวจิ๋วนี้ ไม้แต่ละชนิดให้เสียงแตกต่างกันไปตามชนิดของมัน ระยะหลังมีผู้ผลิตรุ่นใหม่ นำไม้แปลกๆ เช่น Mango มาทำก็มี ว่ากันว่าไม้มะม่วงนี้ เปล่งเสียงออกมาได้ใกล้เคียง Koa มากทีเดียว ส่วนผู้ผลิตหัวก้าวหน้ารายหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก กับการผลิต Ukulele จากไฟเบอร์กลาส ซึ่งก็ให้เสียงดีมีสไตล์ ต่างไปอีกแบบ
ปัจจุบันบ้านเรา
ตอนนี้มีตัวแทนจำหน่ายหลายราย เริ่มนำ Ukulele เข้ามาเป็นอีกตัวเลือกให้นักดนตรีไทยแล้ว แต่ออกจะหายากสักนิด และรุ่นใหญ่ๆ แพงๆ ดีๆ ไม่ค่อยมี ส่วนรุ่นถูกๆ ที่ขายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่คุณภาพไม่ดี เสียงเพี้ยนง่าย เป็นแบบตาดีได้ตาร้ายเสีย ต้องลองเล่น ลองบิดลูกบิดให้ดีก่อนซื้อ ผมเชื่อว่าไม่นานนี้น่าจะมี Ukulele ดีๆ ทยอยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยมากขึ้น ตามกระแส Ukulele Fever ที่แรงขึ้นเรื่อยๆ ไปทั่วโลก
วีธีการเลือกซื้อ อูคูเลเล่ Ukulele
การเลือกหาอูคูเลเล่ ต้องดูกันที่วัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่งของตัวอูคูเลเล่เป็นหลัก เพราะจะทำให้เราได้อูคูเลเล่ที่ดี เสียงเพราะ และจะทำให้เราสนุกกับอูคูเลเล่ได้ในระยะยาว ซึ่งราคา ก็จะผันแปรไปตามคุณภาพ
หลักการง่ายๆมีอยู่ 2 อย่างคือ ตัว body กับสาย
1 ) ตัว body มีผลต่อคุณภาพเสียงมากที่สุด เสียงจะเพราะน้อย เพราะมาก ก็อยู่ที่วัสดุที่นำมาประกอบเป็นตัว body โดยหลักๆ เลยจะมีอยู่ 2 อย่าง คือไม้จริง (Solid wood) กับ ไม้อัด (Laminated wood) โดยไม้จริง จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แต่ราคาก็สูงขึ้นไปด้วยเช่นกัน ส่วนไม้อัด ก็ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง เหมาะสมกับราคาที่ถูกกว่าไม้จริง ตามงบประมาณ ก็สามารถหาซื้อ รุ่นที่ทำด้วย ไม้อัด Laminated ได้ไม่ยาก ซึ่งถ้าจะให้เสียงดีก็ต้องเริ่มจากไม้อัด Mahogany ขึ้นไป ข้อดีคือ ราคาเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้น
2) สายก็มีผลกับเสียงอย่างมากเช่นกัน ถ้าจะให้เสียงดีจริงๆ ก็ต้องใช้สายที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ได้เสียงที่ใส และกังวาล เช่น สาย Aquila ทีเป็นสายไนล่อนผสมไส้แกะ โดยจะเป็นสายสีขาว เสียงจะใสเล่นแล้วจะทำให้เราหลงรักการเล่นอูคูเลเล่ เข้าไปอีก แต่ถ้าเป็นสายไนล่อนสีดำที่ติดมาจากโรงงาน ในอูคูเลเล่ระดับล่างลงไป จะให้เสียงทึบๆ และถ้าเล่นไปนานๆจะทำให้เจ็บนิ้ว แล้วจะพาลเบื่อที่จะเล่นอูคูเลเล่ไปซะเลยก็ได้
ซึ่งรายละเอียดลึกๆ ในการเลือกซื้อ ก็ต้องดูกันตามรายละเอียดตั้งแต่ วัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่ง
หลักการง่ายๆมีอยู่ 2 อย่างคือ ตัว body กับสาย
1 ) ตัว body มีผลต่อคุณภาพเสียงมากที่สุด เสียงจะเพราะน้อย เพราะมาก ก็อยู่ที่วัสดุที่นำมาประกอบเป็นตัว body โดยหลักๆ เลยจะมีอยู่ 2 อย่าง คือไม้จริง (Solid wood) กับ ไม้อัด (Laminated wood) โดยไม้จริง จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แต่ราคาก็สูงขึ้นไปด้วยเช่นกัน ส่วนไม้อัด ก็ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง เหมาะสมกับราคาที่ถูกกว่าไม้จริง ตามงบประมาณ ก็สามารถหาซื้อ รุ่นที่ทำด้วย ไม้อัด Laminated ได้ไม่ยาก ซึ่งถ้าจะให้เสียงดีก็ต้องเริ่มจากไม้อัด Mahogany ขึ้นไป ข้อดีคือ ราคาเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้น
2) สายก็มีผลกับเสียงอย่างมากเช่นกัน ถ้าจะให้เสียงดีจริงๆ ก็ต้องใช้สายที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ได้เสียงที่ใส และกังวาล เช่น สาย Aquila ทีเป็นสายไนล่อนผสมไส้แกะ โดยจะเป็นสายสีขาว เสียงจะใสเล่นแล้วจะทำให้เราหลงรักการเล่นอูคูเลเล่ เข้าไปอีก แต่ถ้าเป็นสายไนล่อนสีดำที่ติดมาจากโรงงาน ในอูคูเลเล่ระดับล่างลงไป จะให้เสียงทึบๆ และถ้าเล่นไปนานๆจะทำให้เจ็บนิ้ว แล้วจะพาลเบื่อที่จะเล่นอูคูเลเล่ไปซะเลยก็ได้
ซึ่งรายละเอียดลึกๆ ในการเลือกซื้อ ก็ต้องดูกันตามรายละเอียดตั้งแต่ วัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่ง
วัสดุ คุณภาพ ส่วนประกอบต่างๆ
ว่ากันด้วยเรื่องของวัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่ง
วัสดุ1. ไม้ที่ตัว Body
- Laminated ไม้อัด ถ้าเป็นสินค้าราคาถูกๆ ก็จะทำจากไม้อัดเกรดต่ำเช่น Sapale, Maple, Nato แต่ถ้าเป็นเกรดดีหน่อยก็จะใช้ Mahogany เป็นหลักครับ เพราะจะให้เสียงที่นุ่มไพเราะ
- Solid ไม้จริง จะให้เสียงที่ไพเราะ และมีเอกลักษณ์ของเสียงตามประเภทของไม้ เช่น ไม้ Mahogany จะให้เสียงนุ่มๆ, ไม้ Spruce จะให้เสียงแบบพุ่งๆ คือดังก้องกังวาลมากขึ้น ฯลฯ แต่ก็จะทำให้ราคาขยับตัวสูงขึ้น ตามคุณภาพ และความหายากง่ายของไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้ Koa จะมีราคาแพงที่สุดเพราะเป็นไม้ที่มีเฉพาะในฮาวาย และเป็นไม้หายาก เป็นต้น
นอกจากนี้ สำหรับไม้จริง Solid ที่นำมาทำเป็นเครื่องดนตรี จะต้องมีการเลื่อยแบบ Quarter Sawn เท่านั้น เพื่อให้ วงปี(เส้นวงกลมที่เราเห็นในรูปด้านล่างตามหน้าตัดของต้นไม้) ของไม้ตั้งฉากกับแนวระนาบด้านบนของไม้ให้มากที่สุด (ตามภาพแผ่นไม้ตรงกลางของภาพด้านล่าง) เพราะจะส่งผลต่อความคงทนของไม้ ซึ่งจะทำให้ไม้ไม่หด บิดงอ หรือเสียรูปง่าย ซึ่งในการเลื่อยวิธีนี้ จะได้ไม้ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่คงทนที่สุด แต่ก็มีส่วนที่สูญเสียไปเยอะ จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ ไม้ Solid เกรดสำหรับเครื่องดนตรี มีราคาสูงกว่าไม้ทั่วไป ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม้ที่เลื่อยทำเฟอร์นิเจอร์ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย จะเลื่อยกันแบบ plain sawn (Regular Sawn) กันทั้งหมด ดังนั้น ถ้าเลือกซื้อ อูคูเลเล่ไม้จริง ก็ต้องระวังในจุดนี้ไว้ด้วยครับ ไม่งั้น เล่นๆ ไปซักพัก อูคูเลเล่ ของเราอาจจะ โค้งเป็นกะละมัง หรือไม้ปริแตกได้ครับ :-)
2. สาย
- ไนล่อน มีลักษณะเป็นสายสีดำ สินค้าราคาถูกๆ จะใช้สาย ไนล่อนเป็นหลัก เพราะจะมีราคาถูกสุด แต่ก็จะให้เสียงที่ทึบๆ ไม่ใสกังวาล เพราะการสั่นสะเทือนของสายจะน้อย จึงทำให้เมื่อดีดแล้ว สายจะสั่นและให้เสียงแค่ช่วงสั้นๆ ซึ่งก็จะมีหลากหลายคุณภาพ ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละราย ในสหรัฐส่วนมากจะใช้สาย GHS กัน แต่ถ้าเป็นที่อื่นๆ ก็จะใช้สายที่เกรดต่ำกว่าลงไปอีก
- ไนล่อนพันทับด้วยไส้แกะแล้วนำมาขัดให้เรียบ มีลักษณะเป็นสายสีขาว เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนาโดยผู้ผลิตสาย ในประเทศอิตาลี โดยนำสายไนล่อนเกรดคุณภาพสูงมาต่อยอดด้วยการนำไส้แกะแท้ๆ ตามฉบับดั้งเดิมของอูคูเลเล่ มาพันทับกับสายไนล่อน แล้วนำไปขัดให้เรียบ ซึ่งทำให้การสั่นสะเทือนของสายนานกว่า ซึ่งทำให้ได้เสียงที่ใส และก้องกังวาล ซึ่งผู้ผลิตอูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไป จะใช้สายชนิดนี้เป็นหลัก ซึงก็คือสาย Aquila นั่นเอง
3. ไม้ที่ส่วน fingerboard และ bridge
- Maple สินค้าราคาถูกจะใช้ไม้ Maple ในส่วนนี้ ซึ่งมีราคาถูก แต่ก็จะสึกหรอได้ง่ายกว่า เนื่องจากคุณสมบัติของไม้ จะไม่ค่อยมีความแข็งแรง
- Rosewood มีคุณสมบัติทีแข็งแรง และทนต่อการสึกหรอได้สูง อูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไป จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่ fingerboard และ bridge เพราะจะมีอายุการใช้งานที่นาน
คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ
1.ลูกบิด
- Friction เป็นแบบดั้งเดิม แต่ก็มีคุณภาพหลากหลายเกรด หากเป็นสินค้าราคาถูกมักจะใช้วัสดุเป็นพลาสติกและน็อตเกรดต่ำ ซึ่งจะทำให้สายเพี้ยนได้ง่าย แต่ในอูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไปจะใช้วัสดุเกรดสูง ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องสายเพื้ยนบ่อยๆ
- Geared ลักษณะเหมือนกับตัวลูกบิดตั้งสายของกีตาร์ คือมีเฟืองทด เพื่อทำให้ง่ายต่อการจูนสาย และไม่มีปัญหาเรื่องสายที่เพี้ยนบ่อยๆ คุณภาพก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุของส่วนประกอบต่างๆ เช่นพลาสติก นิกเคิล ทองเหลือง ฯลฯ
2. Nut และ Saddle
- พลาสติก มีราคาที่ถูกกว่า แต่การส่งผ่านเสียงจากสาย ไปยังตัวบอดี้ เพื่อกำเนิดเสียงก็จะมีคุณภาพไม่เต็มที่
- กระดูก เป็นวัสดุธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการส่งผ่านเสียง ไปยังตัวบอดี้ เพื่อกำเนิดเสียงได้ดีกว่า เพราะกระดูกมีคุณสมบัติที่มีความพรุนในตัว เสียงจึงส่งผ่านได้ดี
รายละเอียดการตกแต่ง
1. การทำสี
- Satin ลักษณะสีด้านๆ ดูเป็นธรรมชาติ
- Gross จะให้สีแบบแวววาบ
2. Binding ต่างๆ
- พลาสติก
- ไม้
- เปลือกหอย (Abalone)
สรูปใจความสำคัญ ต้องดูกันที่คุณภาพเป็นหลักค่ะ เพราะจะทำให้เราสนุกกับการเล่นอูคูเลเล่กันไปอีกนาน :-)
สไตล์การเล่น
ว่ากันด้วยเรื่องของขนาด และสไตล์การเล่น
คราวนี้ มาในเรื่องโทนเสียง กับสไตล์ในการเล่นค่ะ อย่างที่ทราบกันว่า อูคูเลเล่ มีขนาดที่คนนิยมเล่นกันอยู่ 3 ขนาด คือ Soprano, Concert และ Tenor ซึ่ง แต่ล่ะขนาด ก็ให้สุ่มเสียง ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ตามขนาดของตัว body คือ- Soprano เนื่องจากมีขนาดตัวที่เล็ก จึงให้เสียงที่เล็กๆ ใสๆ หวานๆ แบบดั้งเดิมตามฉบับแหล่งกำเนิดของ อูคูเลเล่ คือ ฮาวาย ก็คือเสียงแบบทะเลๆ นั่นเอง และเนื่องจากความเล็ก ก็จึงทำให้ finger board ก็เล็กตามไปด้วย ซึ่งโดยปกติ ก็จะมีจำนวนเฟรต 12 เฟรต แต่ผู้ผลิตบางที่ ก็เริ่มมีการออกแบบให้มี 15 เฟรต เพื่อรองรับ การเล่น ที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น อูคูเ้ลเล่ขนาด Soprano แบบดั้งเดิม ที่มี 12 เฟรต จึงเหมาะในการเล่นสไตล์ ตีคอร์ดร้องเพลง และง่ายต่อการพกพาไปเที่ยวในที่ต่างๆ เรียกได้ว่า แค่มี อูคูเลเล่ขนาด Soprano หนึ่งตัว กับ หนังสือเพลงเล่มโปรดซักเล่ม ก็หิ้วไปเล่นได้ทุกที่ ที่ต้องการครับ ส่วนถ้าใครชอบแบบมีโซโล่เพิ่มเติม ก็เลือกหารุ่นที่มีจำนวนเฟรตเพิ่มขึ้น ก็จะรองรับการเล่นได้กว้างขึ้นครับ
- Concert มีขนาดที่ใหญ่กว่า soprano ขึ้นมาอีกนิด จึงให้สุ้มเสียงที่ทุ้มๆ ขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังให้อารมณ์ใสๆ หวานๆ ของ soprano เช่นกัน ขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้ finger board ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และจำนวนเฟรต ก็จะมีเพิ่มขึ้น เป็น 14 ถึง 19 เฟรต แล้วแต่การดีไซน์ ซึ่งก็จะรองรับการเล่นสไตล์ finger picking ได้มากขึ้น
- Tenor มีขนาดใหญ่กว่า Concert ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งถือเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่สุดในบรรดาอูคูเลเล่ ที่ได้รับความนิยมในการเล่น ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะมีสุ้มเสียงที่เน้นออกไปทางทุ้มๆ และรองรับการเล่น finger picking ได้เป็นอย่างดี เพราะขนาด finger board ที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดตัว ซึ่งนักดนตรีมืออาชีพ จะนิยมเล่นกัน
สรุปกันในเรื่องของไซส์ที่ต้องการ ก็ต้องถามตัวเองว่าเราชอบเล่นแบบไหน และไลฟ์สไตล์ของเราเป็นยังไง ชอบเล่นแบบตีคอร์ดร้องเพลง หรือเล่นแบบนิ้วแพรวพราว ชอบหิ้วไปเล่นที่โน่นที่นี่ หรือว่าต้องหิ้วไปเล่นออกงานบ่อยๆ ฯลฯ ค้นหาสไตล์ตัวเองให้เจอ แล้วเลือกอูคูเลเล่ รุ่นและขนาดที่คุณถูกใจ รับรองว่า มีอูคูเลเล่ที่ไหน มีความสุขที่นั่นค่ะ :-)
Chords
Ukulele Chords
ตารางคอร์ดมาตราฐานของ Ukulele ค่ะ วิธีดู ให้ดูเหมือนกับของ กีตาร์ธรรมดาค่ะ ด้านขวามือ(โดยที่คุณมองเข้ามา) คือ สายเส้นที่ 1 แล้วไล่มาทางซ้ายมือ ก็จะเป็น สายที่ 2,3 และ 4 ตามลำดับค่ะ
ส่วนด้านบนก็คือ fret ค่ะ ไล่ลงมาจากบนลงล่างค่ะ นับเป็น fret ที่ 1 ลงมาค่ะ
ตัวอย่างเช่นคอร์ด C ก็คือ ให้จับที่ สายที่ 1 ใน fret ที่ 3 ค่ะ
ส่วนนิ้วที่ใช้ ก็จะใช้นิ้วนาง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนคอร์ด ไปเล่นคอร์ดอื่นๆค่ะ
เทคนิคและวิธีการวางนิ้ว ผมจะนำมาลงให้อีกทีนะค่ะ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ ดูกันแบบภาพธรรมดากันก่อนค่ะ :-)
มาหัดเล่น ukulele กันเถอะ!
อูคูเลเล่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายจากฮาวาย ที่เรียกได้ว่าหัดเล่นได้ง่ายที่สุดในโลก ไม่เจ็บนิ้วในตอนหัดเล่นใหม่ๆ และสามารถเล่นได้หลากหลายทุกสไตล์เหมือนกับกีตาร์ แถมยังพกพาได้สะดวก ด้วยขนาดที่เล็กกระทัดรัด ซึ่งคอร์ดที่ใช้ ก็จะใช้คอร์ดเหมือนกันกับกีตาร์ ต่างกันแค่วิธีการจับเท่านั้น ดังนั้นเราจึงสามารถใช้อูคูเลเล่ เล่นเพลงทุกเพลงบนโลกใบนี้ ที่มีชื่อคอร์ดกีตาร์ในหนังสือเพลงตามท้องตลาด และในเว็บไซต์ต่างๆได้อย่างง่ายดาย
อูคูเลเล่เป็นเครื่องดนตรีที่หัดเล่นได้ง่ายมาก แถมยังพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก จึงกลายเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่รักในเสียงดนตรีกันมากมาย รวมทั้งดารานักร้อง และศิลปินมืออาชีพต่างๆ โดยเราจะเห็นได้จากรายการโทรทัศน์ และสื่อต่างๆ มากมาย ทางเว็บไซต์ได้รับเกียรติจากพี่ออดี้ เจ้าของบทเพลงอันโด่งดังในยุคอัลเทอเนทีฟ ไม่ว่าจะเป็นเพลงเคย, สุดที่รัก, ไม่ใช่เจ้าชาย, รอจนกว่า, ไม่สำคัญ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นศิลปินในดวงใจของใครหลายๆคน และเป็นแรงบันดาลใจ ให้หัดเล่นกีตาร์กันมาแล้ว วันนี้สมาชิกที่สนใจจะหัดเล่นอูคูเลเล่ ก็สามารถหัดเล่นอูคูเลเล่ จากวีดีโอสอนการเล่นอูคูเลเล่โดยพี่ออดี้ ได้ด้วยเช่นกันค่ะ เชิญรับชมวีดีโอสอนการเล่นอูคูเลเล่ ได้จากวีดีโอด้านล่างได้เลยค่ะ :-)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)